โครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งของเทศบาลตำบลวัดธาตุ

                             แผนผังองค์กร


 





























โครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งของเทศบาลตำบลวัดธาตุ
แนบท้ายประกาศเทศบาลตำบลวัดธาตุ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
.............................................................
เทศบาลตำบลวัดธาตุ เป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง โดยจัดทำโครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งพนักงานเทศบาลในแผนอัตรา 3 ปี ดังนี้
  1. สำนักปลัดเทศบาล
  2. กองคลัง
  3. กองช่าง
  4. กองการศึกษา
  5. กองสวัสดิการสังคม
  6. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  7. กองยุทธศาตร์และงบประมาณ
  8. หน่วยตรววจสอบภายใน
 
ข้อ 1 สำนักปลัดเทศบาล  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการ ทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใด ในเทศบาลโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน เทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
1.1 ฝ่ายอำนวยการ
1.1.1 งานบริหารงานทั่วไป
  • งานสารบรรณ /งานอำนวยการ
  • งานตรวจสอบภายใน
  • งานบริหารงานบุคคล
  • งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร
  • งานประชาสัมพันธ์
  • งานอาคารสถานที่
  • งานรักษาความสงบเรียบร้อย
  • งานสนับสนุนและบริการประชาชน
  • งานรัฐพิธี
  • งานคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพย์สินของทางราชการและสถานที่สาธารณะ
1.1.2 งานกิจการสภา
  • งานระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาฯ
  • งานประชุมสภา ทต.
  • งานประชุมคณะกรรมการสามัญและวิสามัญประจำสภาพ ทต.
  • งานการประชุมกลุ่มพลังมวลชนอื่น ๆ
  • งานอำนวยการและประสานราชการ
  • งานติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมสภาเทศบาล
  • งานเลือกตั้งสมาชิกสภา ทต.
  • งานข้อมูลการเลือกตั้ง
  • งานชุมชนสัมพันธ์
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนความรู้และวิชาการแก่สมาชิกสภา  ทต.

1.2 ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ

1.2.1 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  • งานป้องกันสาธารณภัย
  • งานช่วยเหลือฟื้นฟูบรรเทาความเดือนร้อนของราษฎรผู้ประสบภัย
  • งานกู้ภัย
  • งานช่วยเหลือและให้บริการประชาชนในกิจการสาธารณประโยชน์

         ข้อ 2 กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภททะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
2.1 ฝ่ายบริหารงานคลัง

2.1.1 งานการเงินและบัญชี

  • งานรับเงินและเบิกจ่ายเงิน
  • งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
  • งานเก็บรักษาเงิน
  • งานการบัญชี
  • งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย
  • งานงบการเงินและงบทดรอง
  • งานแสดงฐานะทางการเงิน
  • งานรายงานทางการเงิน

2.2 ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

2.2.2 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

  • งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
  • งานพัสดุ
  • งานทะเบียน  ควบคุมและเบิกจ่ายวัสดุ  ครุภัณฑ์และยานพาหนะ
  • งานธุรการประจำส่วนการคลัง

2.3 ฝ่ายพัฒนารายได้

2.3.1 งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

  • งานภาษีอากร  ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า
  • งานพัฒนารายได้
  • งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
  • งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้

ข้อ 3 กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการ สำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบ กฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานการ ก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะงานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
3.1 ฝายการโยธา

3.1.1 งานก่อสร้าง

  • งานก่อสร้างและบูรณะถนน  สะพาน  ทางระบายน้ำ  และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
  • งานก่อสร้างและบูรณะโครงการพิเศษ
  • งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม
  • งานบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ
  • งานควบคุมงานก่อสร้างถนน  สะพาน  รางระบายน้ำ  และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
  • งานธุรการประจำส่วนโยธา
  • งานจัดทำฎีกาและพัสดุประจำส่วนโยธา

3.1.2 งานออกแบบ ควบคุมอาคาร และผังเมือง

  • งานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์
  • งานวิศวกรรม
  • งานประเมินราคา
  • งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร
  • งานออกแบบ
  • งานตกแต่งสถานที่
  • งานบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์
  • งานสำรวจและแผนที่
  • งานวางผังพัฒนาเมือง
  • งานควบคุมทางผังเมือง
  • งานจัดรูปที่ดินและฟื้นฟูเมือง

3.1.3 งานประสานสาธารณูปโภค

  • งานประสานสาธารณูปโภค  เช่น ไฟฟ้า  เป็นต้น  และกิจการประปา
  • งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร
  • งานระบายน้ำ

ข้อ 4 กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการ บริหารศึกษาและพัฒนาการการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
4.1 ฝ่ายบริหารการศึกษา

4.1.1 งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

  • งานส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์การเรียนชุมชน
  • งานส่งเสริม  สนับสนุน  และพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  และอนุบาล
  • งานประสานและสนับสนุนโรงเรียนประถมและมัธยม
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการศาสนา
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการเด็ก  และเยาวชน
  • งานห้องสมุด  พิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายทางการศึกษา
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • งานเทคโนโลยีทางการศึกษา

4.1.2 งานส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจการกีฬา

  • งานสำรวจแหล่งท่องเที่ยว
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการท่องเที่ยว
  • งานปรับปรุงบูรณะและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
  • งานบริการที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยว
  • งานจัดตั้งและให้บริการข้อมูลท่องเที่ยว
  • งานจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและบริการนักท่องเที่ยว
  • งานส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา
  • งานดูแล และบำรุงรักษาสนามกีฬาและศูนย์กีฬาประจำตำบล และประจำหมู่บ้าน
  • งานบริหารโครงการฝึกสอน  ฝึกซ้อม และการแข่งขันกีฬาระดับหมู่บ้าน  ตำบล อำเภอและจังหวัด
  • งานควบคุมและให้บริการอุปกรณ์กีฬา
  • งานจัดหาและดูแลรักษาวัสดุ  อุปกรณ์กีฬา

ข้อ 5 กองสวัสดิการสังคม  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชนการพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชนหนาแน่นและชุมชนแออัด การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
5.1 ฝ่ายพัฒนาชุมชน

5.1.1 งานสวัสดิการ  พัฒนาชุมชน และสังคมสงเคราะห์

  • งานสวัสดิการสังคม
  • งานสุสานและฌาปณสถาน
  • งานพัฒนาชุมชนและสังคม
  • งานจัดระเบียบชุมชน
  • งานสังคมสงเคราะห์
  • งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี
  • งานศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำ หมู่บ้าน
  • งานส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • งานธุรการประจำส่วนสวัสดิการสังคม

5.1.2 งานส่งเสริมอาชีพ  การเกษตร  และพัฒนาสตรี

  • งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน
  • งานส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรี
  • งานสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มสตรีแม่บ้าน
  • งานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจกิจชุมชน
  • งานส่งเสริมและพัฒนากลุ่มออกทรัพย์
  • งานส่งเสริมและพัฒนากิจการร้านค้าชุมชนและศูนย์หัตกรรมประจำตำบลและหมู่บ้าน
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนการตลาดสินค้ากลุ่มอาชีพ กลุ่มหัตกรรมและอุตสาหกรรมครอบครัว
  • งานวิชาการเกษตรและเทคโนโลยีทางการเกษตร
  • งานส่งเสริมและปรับปรุงขยายพันธุ์พืช 
  • งานป้องกันและรักษาโรคและศัตรูพืช
  • งานเพาะชำและปุ๋ยเคมี
  • งานส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร
  • งานส่งเสริมการบรรจุภัณฑ์และร้านค้าสาธิต
  • งานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
  • งานบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

ข้อ 6 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชนส่งเสริมสุขภาพและอนามัยการป้องกันโรคติดต่อ งานสัตวแพทย์ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและงานอื่นๆ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุขโดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
6.1 ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

6.1.1 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม

  • งานรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  • งานกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

6.1.2 งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

  • งานควบคุมและระงับโรคติดต่อ

6.1.3 งานสัตวแพทย์

6.1.4 งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข

  • งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข

6.1.5 งานบริการสาธารณสุข

  • งานบริการสาธารณสุข

ข้อ 7 กองยุทธศาตร์และงบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์นโยบายและแผน เพื่อประกอบการกำหนดนโยบายในการจัดทำแผน หรือ โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นนโยบายหรือแผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ อาจเป็นนโยบายของเทศบาล โครงการระดับชาติ  ระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัดแล้วแต่กรณี งานเผยแพร่นโยบายข่าวสารของเทศบาล เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น งานสารนิเทศศึกษา วิเคราะห์วิจัย วางแผนด้านประชาสัมพันธ์ งานนิติการ พิจารณาวินิจฉัยข้อกฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจ ร่างเทศบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรมงานสอบสวนดำเนินการเกี่ยวกับวินัยของเทศบาล และการร้องทุกข์หรือุทธรณ์สอบสวนและเปรียบเทียบการกระทำที่ละเมิดเทศบัญญัติ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ดังนี้
7.1 ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ

7.1.1 งานนโยบายและแผน

  • งานนโยบายและแผนพัฒนา
  • งานวิชาการ
  • งานงบประมาณ
  • งานข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
  • งานประชาสัมพันธ์องค์กร
  • งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์

8. หน่วยตรวจสอบภายนใน มีหน้าที่ จัดทำแผนการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือของเอกสารการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน โครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ งานประเมินการควบคุมภายใน งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำแนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง

 

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล

►  พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 14 ) พ.ศ.2562 
 

      มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

2. ให้มีและบำรุงทางบกและทาง

   2/1. รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุน
          หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวฟห

3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

6. จัดการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนาและการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการ
    จัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก

7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

      มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

1. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา

2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์

3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

8. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า

9. เทศพาณิฃย์

►  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
     ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ดังนี้

1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า

3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ

5. การสาธารณูปการ

6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9. การจัดการศึกษา

10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส

11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14. การส่งเสริมกีฬา

15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย

19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ

24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. การผังเมือง

26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28. การควบคุมอาคาร

29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

31. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

► อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด 

- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493

- พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495

- พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534

- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518

- พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง